วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

50 อัลบั้มอินดี้ไทยยอดเยี่ยมตลอดกาล

50 อัลบั้มอินดี้ไทยยอดเยี่ยมตลอดกาล

จรัล มโนเพ็ชร : โฟล์กซองคำเมือง ชุด อมตะ (2521)งานเพลงชุดแรกของหนุ่มเชียงใหม่ จรัล มโนเพ็ชร ที่สามารถโด่งดังมาถึงกรุงเทพฯ และดังไปทั่วประเทศ ตัวเพลงเป็นการริเริ่มผสมผสานดนตรีโฟล์กซอง
เข้ากับภาษาคำเมืองและแนวเมโลดี้แบบไทยๆ ได้อย่างกลมกลืน เพลงเนื้อหากินใจอย่าง 'อุ้ยคำ' และเพลงฟังสบายๆ อย่าง 'สาวมอเตอร์ไซค์'
'พี่สาวครับ' กลายเป็นเพลงฮิตที่คนทั่วประเทศรู้จักมาจนถึงวันนี้

http://www.mediafire.com/?wkqcy4yjyt2


เฉลียง : ปรากฏการณ์ฝน (2526)
อัลบั้มชุดแรก (จริงๆ) ของวงที่ได้รับสมญานามในเวลาต่อมาว่า 'ตัวโน้ตอารมณ์ดี ' ซึ่งออกมาในยุคที่วงการเพลงบ้านเรายังคงอยู่ในวังวนของวงสตริง
ถือเป็นความกล้าหาญของสมาชิกวง และ ประภาส ชลศรานนท์ คนแต่งเพลงหลัก ในการทำเพลงซึ่งมีธีมเนื้อร้องและดนตรีที่แตกต่างจากความนิยม
ของตลาดออกมา หลายเพลงในชุดนี้ถูกนำมาทำใหม่อีกครั้งในอัลบั้มชุดถัดๆ มา เช่น 'เธอกับฉันและคนอื่นๆ' , 'กล้วยไข่' และ 'อยากมีหมอน'

http://www.mediafire.com/?itqdemwmgny


เปเป้ & บัตเตอร์ฟาย (2528)
อัลบั้มแรกของ เป้ สีน้ำ หรือ อรรณพ สีสัจจา ที่ทำร่วมกับ บัตเตอร์ฟลาย เพลง 'ฝากรัก' ที่เป็นเพลงประจำตัวของ เป้ สีน้ำ ก็อยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย ดนตรี
ในเพลงเป็นแนวอะคูสติกฟังสบายๆ เสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีสีสันสมศักดิ์ศรีบัตเตอร์ฟลายทีเดียว ในส่วนเนื้อหานั้นเป้ สีน้ำมีเพลงที่ประเด็นนำสมัย
ไปพอสมควร อย่าง 'ทอมบอย' และยังมีเพลงแบบกวีอยู่อีกเต็มอัลบั้ม

http://www.mediafire.com/?kmheokkdejv


The Olarn Project : 28 กุมภาพันธ์ (2528)
อัลบั้มแห่งความทรงจำที่ยังอยู่ในความทรงจำของคอร็อกทุกคนมาจนทุกวันนี้ ด้วยดนตรีร็อกที่หนักหน่วง ทว่าสลับซับซ้อนสวยงามของ โอฬาร พรหมใจ
(กีตาร์) บวกกับเนื้อร้องประหนึ่งบทกวีของ ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ (ร้องนำ) ที่ยอดเยี่ยมเทียบได้กับคู่หูมีอกีตาร์ - ร้องนำ ระดับโลกเลยทีเดียว
เกือบทุกเพลงในอัลบั้มนี้จัดอยู่ในขั้นคลาสสิกทั้งสิ้น อาทิ 'อย่าหยุดยั้ง' และ 'แทนความห่วงใย'

http://www.mediafire.com/?wbqjnwu0mmo


ตาวัน : หุ่นกระบอก (2529)
การรวมตัวกันของ 3 อดีตสมาชิกวงขวัญใจวัยรุ่นอย่าง 'แมคอินทอช' (กิติพันธุ์ ปุณกะบุตร, มรุธา รัตนสัมพันธ์, วงศกร รัศมิทัต) กับอีก 2 สมาชิกหน้าใหม่
ไฟแรง (พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์) จนมาเป็นอัลบั้มเปิดตัวชั้นดีที่สมาชิกทุกคนแสดงฝีมือการแต่งเพลงกันอย่างเต็มที่
เต็มไปด้วยสีสันของดนตรีป๊อปร็อกชั้นดียุค 80 ที่ทุกวันนี้ก็ยังคงฟังไพเราะไม่ว่าจะเป็น 'หุ่นกระบอก' , 'สู่แสงแห่งตาวัน' หรือ 'ถึงเธอผู้ห่างไกล'

http://www.mediafire.com/?mnoozkgn3cj


บัตเตอร์ฟลาย : Action! (2529)
อัลบั้มชุดที่สามและงานฟูลทีมชุดสุดท้ายของ 'บัตเตอร์ฟลาย' วงดนตรีระดับ 'ซูเปอร์กรุ๊ป' ถือเป็นงานชุดทิ้งทวนที่สมศักดิ์ศรีด้วยสมาชิกที่แข็งแกร่งสุดๆ
ทั้ง สุรสีห์ อิทธิกุล, อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ (ปัจจุบัน ธนวัฒ สืบสุวรรณ), อัสนี โชติกุล, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา และ กรเณศณ์ วะสีนนท์ ที่มาพร้อมบทเพลง
แนวโปรเกรสสีฟฮาร์ดร็อก ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น พิสูจน์ได้ในเพลงชั้นเยี่ยมที่ไม่ควรพลาดอย่าง 'Red Rose Queen' , 'Phosphorus' และ 'Action!'

http://www.mediafire.com/?kmbnmzytyhy


อัสนี และ วสันต์ : บ้าหอบฟาง (2530)
งานชุดแรกของสองพี่น้องตระกูลโชติกุลในนาม 'อัสนี และ วสันต์' เพลง 'บ้าหอบฟาง' สร้างความแตกตื่นให้กับวงการเพลงด้วยเนื้อหาเชิงสัญลักษณ์ กับ
การเรียบเรียงดนตรีแบบอาร์ตร็อกเท่ๆ ทุกเพลงในอัลบั้มนี้จัดว่าเป็นเพลงร็อกซับซ้อนชั้นเยี่ยม โดยเฉพาะ 'ไม่เป็นไร' , 'กาลเทศะ' , 'น้ำเอย น้ำใจ' และ
'เดือนเพ็ญ' งานนี้ได้ แอ๊ด คาราบาว มาช่วยร้องถึงสามเพลง มีข้อสังเกตว่าอัสนีเริ่มร้องยานคางตั้งแต่ชุดนี้ และยานมากขึ้นเรื่อยๆ ในชุดต่อๆ มา

http://www.mediafire.com/file/itcuagmd5wj <=


เอกรงค์ : เอกรงค์ (2530)
มหากาพย์ดนตรีที่ จิรพรรณ อังศวานนท์ กับ สินนภา สารสาส ได้ช่วยกันรังสรรค์ขึ้น เป็นการบรรจบกันระหว่างดนตรีร็อกที่ซับซ้อนจนถึงขั้นโปรเกรสสีฟ
กับดนตรีไทยในภาคของกลองและเครื่องให้จังหวะต่างๆ จัดเป็นงานชั้นเยี่ยม ที่สร้างจินตนาการให้กับคนฟังได้อย่างวิเศษ แสดงให้เห็นถึงไอเดีย
และความสามารถที่ล้ำหน้าเกินวงการเพลงไทยในยุคนั้น ภายหลังถูกนำมาวางจำหน่ายอีกครั้งในปี 2537 กับค่ายโซนี่มิวสิค

http://www.mediafire.com/?exjyniqfuzh


ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ : คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต (2530)
ผลงานชุดที่สองของอดีตดีเจแห่งไนต์สปอต ซึ่งเป็นคอนเซปต์อัลบั้มชุดแรกๆ ของเมืองไทย เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของคนใน
สังคมเมือง บนดนตรีแบบร็อกกึ่งโปรเกรสสีฟ ที่สามารถสร้างความเครียดให้กับคนฟังได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้าย ถือเป็นจุดสุดยอด
ของการสร้างสรรค์ผลงาน ระหว่างตัวธเนศ กับสมาชิกวงตาวันที่มาช่วยเรียบเรียงดนตรีและเล่นดนตรีให้

http://www.mediafire.com/?nwzj5owr2za


บัตเตอร์ฟลาย : เมื่อตะวันเรือง (2531)
งานเพลงเพื่อศาสนาของวงบัตเตอร์ฟลาย วางขายในวงไม่กว้างนัก เพลงโดยรวมเป็นโปรเกรสสีฟอ่อนๆ เนื้อเพลงพูดถึงการทำใจให้สงบและมีการ
ใช้สัญลักษณ์เปรียบเปรยอยู่พอสมควร เพลงเด่นคือ 'มาลัยดอกมะลิ' ที่ได้เด็กๆ ทายาทของบัตเตอร์ฟลายมาร้องอย่างน่ารักน่าชัง อัลบ้มนี้รวมคนดนตรี
ตัวจริงของประเทศไว้หลายคนอาทิ จิรพรรณ อังศวานนท์, สุรสีห์ อิทธิกุล, พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุทธยา, อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ, อังศนา ช้างเศวต, อัสนี โชติกุล

หาไม่ได้


อารักษ์ อาภากาศ : คนเดินดิน (2534)
ตอนแรก อารักษ์ อาภากาศ ทำอัลบั้มเพลงอะคูสติกชุดนี้ขายแบบใต้ดินแต่มันยอดเยี่ยมจนได้รับการบอกต่อแบบปากต่อปากและเริ่มขายดี เพลง 'คนเดินดิน'
'น้อยก็หนึ่ง' ถูกพูดถึงในหมู่ปัญญาชนที่ชอบเพลงแนวลึกซึ้ง กระแสนี้พาให้อารักษ์คว้ารางวัลศิบปินหน้าใหม่สีสันอวอร์ดได้อย่างเหนือความคาดหมาย
และได้ออกอัลบั้มนี้แบบบนดินอีกครั้งด้วย เพลงของเขามีสไตล์เฉพาะตัวสูง โดยเฉพาะการใช้ภาษาแปลกแต่งดงาม และการเอื้อนเสียงแบบไม่เหมือนใคร

http://www.mediafire.com/?2ormaa0ywjw


ปฐมพร ปฐมพร : พราย (2534)
เป็นงานที่ก้าวเข้าสู่โลกของดนตรีอาร์ตเป็นครั้งแรก สำหรับ ปฐมพร ปฐมพร ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นเกี่ยวกับตัวนักร้องคาดหน้าคนนี้
บทเพลงทั้งหมด (ยกเว้น 'พราย') ไม่มีชื่อเพลง อันสื่อความเป็นคนกบฏของปฐมพรออกมาได้อย่างชัดเจน แต่ดนตรีโดยรวมกลับเต็มไปด้วย
ความละเมียดละไม ที่แฝงความก้าวร้าวเอาไว้ ซึ่งถือว่าลงตัวและประนีประนอมมากที่สุด ในบรรดางานทั้งหมดของปฐมพร

http://www.mediafire.com/?2ngwmyd4oh0


Todd Lavelle : เมืองไทย ข้างใน-ข้างนอก (2535)
อลังการงานดนตรีโดยหนุ่มอเมริกัน ท๊อด ลาเวลล์ ที่เดินทางไปทั่วประเทศไทยแล้วบันทึกเสียงร่วมกับนักดนตรีพื้นบ้านทั่วประเทศ ชื่อเพลงทั้ง 12 เป็น
ชื่อจังหวัด ดนตรีหลักๆ เป็นโฟล์ก มีดนตรีพื้นบ้านอย่าง ขลุ่ย, แคน, ซอ, พิณ ผสมผสาน บางเพลงเป็นการอ่านบทกวีหรือเล่าเรื่องที่ทอดด์ได้พบเห็นใน
บ้านเรา เนื้อเพลงมีทั้งไทยและอังกฤษ ...ฟังงานชุดนี้เหมือนได้ความรู้จักกับประเทศเราอย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

http://www.mediafire.com/?ktjjmgqzzto


ตาวัน : ม็อบ (2535)
ได้รับการยกย่องว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของวง สำหรับอัลบั้ม 'ม็อบ' ชุดนี้ มีการเพิ่มความหลากหลายเข้าไปในดนตรีป๊อปสไตล์ของตาวันมากขึ้น โดยมีเพลง
'ดูดาว' เป็นเพลงฮิตที่ได้รับความนิยมพอสมควร งานนี้ ปุ้ม-พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มือคีย์บอร์ด เริ่มแสดงความสามารถโดดเด่นเกินหน้าสมาชิก
คนอื่น ด้วยการแต่งเพลงส่วนใหญ่ รวมทั้งเป็นหัวเรือใหญ่ในการโปรดิวซ์งานด้วย

http://www.mediafire.com/?m2ygutj1oa0


ดอนผีบิน : โลกมืด (2536)
ผลงานชุดแรกสุดของ ดอนผีบิน วงดนตรีใต้ดินระดับเจ้าพ่อ ที่ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับวงการเพลงเมตัลใต้ดิน ด้วยดนตรีแทรชเมตัล ตามสมัยนิยม
ธีมเนื้อเพลงเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และฝีมือการเล่นดนตรีที่พอตัว ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมโหฬาร ส่งผลให้มีการผลิตออกมาเป็นซีดี
และเกิดกลุ่มแฟนคลับของวงขึ้นในภายหลัง ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการเพลงใต้ดินไทย

http://www.mediafire.com/?myxjnxmztic


Z-Myx : Volume 10 (2536)
งานเปิดตัวเต็มๆ ครั้งแรกของพ่อมดรีมิกซ์ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ในสังกัดมูเซอ มีเพลงดังๆ ของเขาอยู่ในอัลบั้มนี้หลายเพลง ทั้ง 'ตาอินกับตานา' ,
'ดึกแล้ว' , 'ลมหายใจ' , 'รู้สึกไหม' และ 'มหัศจรรย์แห่งรัก' เป็นงานบุกเบิกดนตรีเต้นรำแนวทางใหม่ในบ้านเราอย่างแท้จริง แม้ตัวงานยุคหลังๆ ของ
สมเกียรติจะเยี่ยมขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ชายชื่อ Z คงไม่เป็นตำนานในวันนี้ ถ้าเขาไม่เคยทำอัลบั้มเต้นรำป๊อปๆ ชื่อ Volume 10 มาก่อน

http://www.mediafire.com/?1h0tlnw1yh4


Crub : View (2537)
หนึ่งในผู้บุกเบิกงานอัลเทอร์เนทีฟเมืองไทย จากการผลักดันของดีเจ วาสนา วีรชาติพลี ด้วยแนวดนตรีบริตป๊อปที่รวมเอาซาวนด์ในแบบ Blur หรือ
Adorable เข้ากับความเป็นตัวเองได้อย่างกลมกลืน ในเพลงอย่าง 'ทุกเวลา' , 'Sunflower' , 'Idea' และ 'สุขใจ' เป็นต้น เมื่อบวกกับความเหนือชั้น
ในการเรียบเรียงและการมิกซ์เสียงด้วยระบบ 3 มิติ เป็นรายแรกของเมืองไทยแล้ว ก็ยิ่งทำให้อัลบั้ม View เป็นผลงานที่ควรค่าแก่การหามาฟังกัน

http://www.mediafire.com/?gmztxjymmtq


โมเดิร์นด็อก : เสริมสุขภาพ (2537) *
ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆ ว่าอัลบั้มชุดแรกของวงอัลเทอร์เนทีฟวงแรกที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างวงนี้มีความสำคัญมากแค่ไหน คงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่ที่
แน่ๆ หากไม่มีอัลบั้มชุดนี้เราก็อาจจะไม่ได้รู้จักกับ เบเกอรี่ มิวสิค, อาจจะไม่มีชื่อของ นพ พรชำนิ, โป้ โยคีเพลย์บอย, พี.โอ.พี หรือแม้แต่ ไทรอัมพ์ คิงดอม
อยู๋ในวงการเพลง, กระแสอัลเทอร์เนทีฟก็อาจจะไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปาก และที่สำคัญที่สุด วงการเพลงก็อาจจะไม่เติบโตขึ้นมาได้อย่างที่มันเป็นอยู่ในทุกวันนี้!

http://www.mediafire.com/file/ygynny2mwx4 <=


โมเดิร์นด็อก : ...ก่อน Collecter's Edition (2537)
เทปซิงเกิ้ลที่ผลิตออกมาในจำนวนจำกัด สำหรับนักสะสมและแฟนพันธุ์แท้ของวงโดยเฉพาะ ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นของหายากไปแล้ว ประกอบไปด้วยเพลง
'ก่อน' 5 เวอรชัน คือ เวอรชันปกติ, เวอรชันอะคูสติก, เวอรชันเดโม, เวอรชันบรรเลง และ พรายเวอรชัน ซึ่งเพียงแค่เวอรชันสุดท้ายนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะ
ทำให้ซิงเกิลชุดนี้มีคุณค่ามากกว่าการเป็นเพียงซิงเกิ้ลเพลงพาวเวอร์บัลลาดชุดหนึ่ง

http://www.mediafire.com/?yz5qhun1vmx


ซีเปีย : เกลียดตุ๊ด (2537)
ภาณุ กันตะบุตร กับ เจษฎา สุขทรามร สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการเพลงอินดี้ด้วยอีพีอันเดอร์กราวน์-พังก์ดิบเถื่อนที่มีเพลง 'เกลียดตุ๊ด' และเพลง 'Dead God'
ที่มีเนื้อร้องว่า "อย่างเธอต้องโดนข่มขืน" เป็นเพลงดัง ส่วนเพลงอื่นๆ นอกจากสองเพลงนี้ก็อยู่ในระดับโอเค อัลบั้มนี้น่าสะสมในแง่ที่เป็นงานสร้าง
กระแสถกเถียงเรื่องความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นกันได้ยกใหญ่ทีเดียว

http://www.mediafire.com/?foa2xclyzod
http://www.mediafire.com/file/het4jmhnmlc <=


Kidnappers : แสลง (2537)
เทคโนป๊อปชั้นดี ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของวงทรีโอ อันประกอบไปด้วยสองแกนนำสำคัญแห่ง Gecco Studio ภควัฒน์ ไววิทยะ, ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์
และนางเอกสาวสวย ปิ่น-เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม ดนตรีได้รับอิทธิพลมาจากวงแนวเดียวกันในช่วงปลายยุค 80s มาอย่างเต็มที่ การเล่นดนตรี
และเรียบเรียงถือว่าเหนือชั้นกว่าวงรุ่นเดียวกัน ในขณะที่เสียงร้องที่เหมือนคนร้องเพลงไม่เป็นของปิ่น กลับกลายมาเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของวง!

http://www.mediafire.com/?m2yiijklynn


นุภาพ สวันตรัจน์ : Lonely People (2537)
เป็นความท้าทายครั้งสำคัญของนุภาพ ในการนำเครื่องดนตรีพื้นบ้านจากหลายประเทศ อาทิ ซีตาร์, ฟรุตเกาหลี, ซอเขมร, ขลุ่ยไทย, แคนกับพิณอีสาน
และอีกมาก มาคลุกเคล้ากับเครื่องดนตรีไฟฟ้าได้อย่างพอเหมาะบนดนตรีบรรเลงสไตล์ป๊อป ที่สื่อให้เห็นถึงความงดงามของวิถีชีวิตแบบเก่าๆ สิ่งแวดล้อม
และประเพณีอันงดงาม เรื่อยไปสู่ความยิ่งใหญ่ของสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมโบราณ 'นครวัด'

http://www.mediafire.com/?kdvryjmz4mn


บอย โกสิยพงษ์ : Rhythm & BOYd (2538)
จากแต่ก่อนที่แนวเพลง R&B เป็นแนวเพลงที่ไม่เคยมีใครทำให้ฟังได้ในวงกว้างในบ้านเรามาก่อน อัลบั้มนี้ทำให้ R&B กลายเป็นแนวหลักของตลาดได้ ด้วย
เพลงอย่าง 'รักคุณเข้าแล้ว' ที่ร้องโดย ป๊อด โมเดิร์นด็อก, 'ฤดูที่แตกต่าง' ร้องโดย นภ พรชำนิ และยังมี 'ดอกไม้' , 'เก็บดาว' และ 'จะเก็บเธออยู่ในใจเสมอ' ที่
ทำให้อัลบั้มนี้เป็นงานโบแดงของ บอย โกสิยพงษ์ มาจนถึงทุกวันนี้ เพียงชั่วไม่กี่เดือนที่อัลบั้มนี้วางขาย ก็มีคนทำแนว R&B กันออกมาอีกนับสิบราย

http://www.mediafire.com/?zmxzhytnf2a
http://www.mediafire.com/file/wmzjgjktjig <=

พราว : พราว (2538)
ถ้าจะยกตัวอย่างวงดนตรีที่รวมเอายอดฝีมือไว้ในวงชนิดที่เรียกได้ว่า 'ยกทีม' ขึ้นมาสักวง วงพราว ต้องเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นแน่ เพราะแค่ชื่อ พิซซ่า-
ชัยบรรฑิต พืชผลทรัพย์ (โปรดิวเซอร์;สี่เต่าเธอ) , เล็ก-สุรชัย กิจเกษมสิน (เล็ก สลาลม) หรือ เจ-เจตมนต์ มละโยธา (Smallroom, บัวหิมะ) ก็การันตี
คุณภาพได้แล้ว หลายเพลงในชุดนี้กลายเป็นเพลงอัลเทอร์ป๊อประดับคลาสสิกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น 'เธอคือความฝัน' หรือ 'เพราะ(ฉัน)มีเพียงเธอ'

http://www.mediafire.com/?ynyw0dtzh5o


นครินทร์ กิ่งศักดิ์ : ไข้ป้าง (2538)
หลังการปิดฉากของคู่ดูโอป๊อป ไฮดร้า อันลือลั่น ธนา ลวสุต แยกไปทำงานเบื้องหลัง ส่วน ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ หันมาออกอัลบั้มเดี่ยวและเขาก็พลิกแนว
ตัวเองมาเป็นอัลเทอร์เนทีฟร็อกได้อย่างงดงาม สไตล์การร้องที่เน้นอารมณ์มากขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่แทบจะลืมภาพเขาสมัยอยู่ไฮดร้าไปเลย อัลบั้มแรกของป้าง
มีเพลงเยี่ยมๆ อยู่มาก ทั้งโมเดิร์นร็อกอย่าง 'สบายดี' , เพลงป๊อปที่มีสีของฝั่งอังกฤษอย่าง 'เอื้อมไม่ถึง' , ป๊อปร็อกชั้นดีอย่าง 'คำตอบ' , และพังก์อย่าง 'อยากเด็ก'

http://www.mediafire.com/?5tyxzzlgzni


Joey Boy : Joey Man (2538)
อัลบั้มเต็มชุดแรกของ โจอี้ บอย ต่อจากมินิอัลบั้ม 'Joey Boy' อัลบั้มนี้สามารถทำให้เพลงแร็ปของเขาเป็นที่รู้จักได้ในวงกว้างด้วยเพลง 'ลอยทะเล' และ
เพลงแร็ปเพราะๆ เท่ๆ อย่าง 'นั่งอยู่ตรงนี้' รวมถึง 'เอ โปด' เพลงเปิดตัวยุคแรกๆ ของเขา อัลบั้มนี้ได้ขุนพลฝีมือดีใน เบเกอรี่มิวสิค มาช่วยเพียบมีหัวเรือใหญ่คือ
สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ที่ควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์และโปรแกรมเมอร์ดูเนื้อหาและดนตรีแล้วอัลบั้มนี้แสดงให้เห็นว่าโจอี้เริ่มเป็นผู้ใหญ่สมกับชื่ออัลบั้มจริงๆ

http://www.mediafire.com/?jyydmjifttn


อรอรีย์ : Natural High (2538)
อัลบั้มเต็มชุดที่หนึ่งของศิลปินกรันจ์หญิงคนเดียวของประเทศนี้ เธอแทบจะเหมาแต่งเพลงเองทั้งหมดทั้งอัลบั้ม มีเพลง 'แล้วเธอ' ที่สุดอื้ออึงเป็นเพลงดัง
และมีเพลงช้า 'ระหว่างเรา' เป็นเพลงที่เพราะที่สุดเพลงหนึ่งในปีนั้น อัลบั้มนี้ยังน่าสนใจตรงที่ได้คนเก่งๆ มาช่วยมากมาย ทั้ง เมธี โมเดิร์นด็อก,
โต้ง พีโอพี, โป้ โยคีเพลงย์บอย และ บอย โกสิยพงษ์

http://www.mediafire.com/?nnzgzjmjdzz


เก่ง : ไปโรงเรียน (2539)
หลังจากที่ออกอีพีชิมลางมาแล้ว ธัญลักษณ์ อภินาคพงษ์ ก็ออกอัลบั้มเต็มตามมาทันที เพลงในอัลบั้มนี้มีความสดทั้งแนวดนตรี, ซาวนด์ และแนวความคิด
เก่งเป็นคนแต่งและเรียบเรียงเองทั้งอัลบั้ม ดนตรีเป็นแนวอัลเทอร์เนทีฟลูกผสมที่มีทั้งแนวพังก์, ร็อกแอนด์โรล, ลูกทุ่ง และแทงโก มาปนกันได้อย่างกลมกลืน
เพลงเด็ดคือ 'ไปโรงเรียน' , 'Tango' และ 'ดุจังน้อง' อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จพองาม เป็นงานที่น่าจดจำในยุคอัลเตอร์เกลื่อนเมือง

http://www.mediafire.com/?cigyczmwnzy


โยคี เพลย์บอย :โยคี เพลย์บอย (2539)
วงดนตรีที่มีแกนนำอยู่อยู่ที่ โป้-ปิยะ ศาสตราวาหา ที่หาญกล้าแหวกกระแสอัลเทอร์เนทีฟ ด้วยอัลบั้มชุดเปิดตัวที่อัดแน่นด้วยเพลงแนวย้อนยุค
ที่หลากหลาย ผสมผสานดนตรียุค 70 อย่าง ฟังก์, ฮาร์ดร็อก, แบรสร็อก เข้ากับดนตรีอัลเทอร์เนทีฟที่มีระดับได้อย่างสมบูรณ์ เป็นงานที่ทรงคุณค่า
ชนิดที่แม้แต่ตัว โป้ เองก็เป็นเรื่องยากที่จะสร้างสรรค์งานที่ดีเทียบเคียงอัลบั้มชุดนี้ออกมาได้อีกครั้ง

http://www.mediafire.com/?jmjzntm5n5m


วรรธนา วีรยวรรธน : Turquoise The Album (2539)
อัลบั้มเต็มชุดแรกของนักร้องนักแต่งเพลงสาว เจ้าของงานชิ้นเยี่ยม 'เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม' การเขียนเนื้อเพลงในอัลบั้มนี้แสดงถึงมุมมองแบบผู้หญิงเก่ง
ที่รักสายลมแสงแดดและท้องทะเล แต่ต้องทนใช้ชีวิตอยู่ในเมืองได้อย่างชัดเจน ส่วนด้านดนตรีเป็นอะคูสติดร็อก มีกลิ่นไอริชและดนตรีพื้นบ้านอยู่บ้าง
เพลงเด็ดอย่างเช่น 'คว้าฝัน' , 'เก็บไว้ให้เธอ' , 'ขาดอะไรในใจคน' และ 'เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม' ที่วรรธนาร้องกับเปียโนตัวเดียว

http://www.mediafire.com/?zkmjcumuy4y


มาโนช พุฒตาล : ในทรรศนะของข้าพเจ้า (2539)
คอนเซปต์อัลบั้มที่ว่าด้วยการค้นหาคำตอบให้กับชีวิต ทั้งในเรื่องของความเชื่อ, ศาสนา และปัญหาสังคมที่กำลังเขม็งเกลียว ซึ่งสื่อออกมาได้ตรงประเด็นกว่า
ผลงานชิ้นก่อนหน้านี้ ('ไกล') ในส่วนของดนตรี มาโนช พุฒตาล บรรจงใส่อิทธิพลของแนวโฟล์กร็อกเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งก็เข้ากับเนื้อเพลง
ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันกลายเป็นงานขึ้นหิ้งไปแล้ว

http://www.mediafire.com/file/wmdol4myozn <=


จีวัน : 10 ปี บนถนนดนตรี (2539)
ดูโอชายหญิงศิลปินแนวเพลงทดลอง ฝ่ายชายนั้นมีเสียงใกล้กับ แอ๊ด คาราบาว อยู่บ้างแต่ฝ่ายหญิงออกไปทาง โยโกะ โอโนะ โน่นเลย เพลงของพวกเขาเป็น
ศิลปะเพื่อศิลปะจึงฟังลำบากหูอยู่สักหน่อย ส่วนใหญ่มีประเด็นเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติและสะท้อนปัญหาสังคม อัลบั้มนี้รวมงานเด่นๆ ของจีวันไว้ครบถ้วนทั้ง
'สิ่งใหม่ๆ' ที่ใช้การการร้องแบบงิ้วมาสร้างความตื่นใจ, 'เหตุราชดำเนิน' เพลงโฟล์กใสๆ บันทึกเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ 'เจ้าพระยา' ที่เป็นงานมหากาพย์ของพวกเขา

โดยคุณ Pai2519 จาก forindy


Paradox : Lunatic Planet (2539)
งานที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้จักกับวงร็อกไอเดียบรรเจิดวงนี้ เพลงส่วนใหญ่มาจากมันสมองของ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา ทีเพลง 'ไก่' , 'นักมายากล'
และ 'เพ้อ' ที่พอจะได้ยินตามวิทยุบ้าง และอัลบั้มนี้ยังเต็มไปด้วยเพลงร็อกแปลกๆ อย่าง 'แกงเผ็ดเป็ดย่าง' ที่เอาวิธีทำอาหารมาแต่งเพลง, 'โรตีที่รัก' เพลง
รักภารตะ, 'ลาลาลา' เพลงอนุรักษ์ธรรมชาติดนตรีซับซ้อน เสียดายที่โปรโมตน้อย บวกกับปกที่ดูฮาร์ดคอร์ไปหน่อย ทำให้งานชุดนี้ไม่โด่งดังนัก

http://www.mediafire.com/?nin5mimtox0


ละอองฟอง : ละอองฟอง (2539)
วงแนวป๊อปอังกฤษใสๆ จากค่ายร่องเสียงลำใยที่เปิดตัวด้วยเพลง 'วัน' ป๊อปสไตล์วง Frente ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่กับเพลงอื่นๆ ในอัลบั้ม
พวกเขาสามารถแต่งและเรียบเรียงเพลงแนวบริตป๊อปใสๆ ได้อย่างลงตัวสุดๆ โดยเฉพาะเพลงช้าที่เพราะขาดใจอย่าง 'รัก' ภายหลังนักร้องนำ วิสาห์ อัธเสรี
ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวกับจินี่เรคอร์ดส์ ซึ่งเป็นงานดนตรีชิ้นเยี่ยมอีกชุด ...แต่ไม่ดังเช่นกัน

http://www.mediafire.com/?gmuzyw2nnmm


Street Funk Rollers : Street Funk Rollers (2540)
บลูร็อก, ฮาร์ดร็อกบูลส์, ดิสโก้, ป๊อป, ฟังกี้, ละติน, คลาสสิก, เฮฟวี่เมตัล และ อัลเทอร์เนทีฟ ถูกนำมายำรวมเอาไว้ในอัลบั้มชุดแรกของ สตรีต ฟังก์
โรลเลอร์ ได้อย่างลงตัวและเป็นเอกภาพ ความเป็นอัจฉริยะของ อรรถพงศ์ บุญเสริมทรัพย์ หัวหน้าวง ไม่น้อยหน้าใครในวงการ งานนี้ทำให้พวกเขาได้
รางวัลสีสันอวอร์ด สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมด้วย ไม่น่าแปลกใจที่ภายหลังเขาจะได้ไปมีส่วนร่วมในงานชั้นดี Visa ของ วิสาห์ อัทธเสรี

http://www.mediafire.com/?dyjzn5emom1


โมเดิร์นด็อก : Cafe (2540)
อัลบั้มชุดแรกของพวกเขาทำให้นึกถึงโมเดิร์นร็อกจากฝั่งอเมริกา แต่พอมาถึงชุดนี้ โมเดิร์นด็อกเอาอิทธิพลของดนตรีป๊อป, ร็อก และเทคโน ฝั่งอังกฤษ
อย่าง U2 เข้ามาผสมในงานของตัวเองอย่างลงตัว เพลงของพวกเขาเป็นอาร์ตขึ้นอย่างรู้สึกได้ อย่าง 'รูปไม่หล่อ' เทคโนร็อกเข้มข้น และ 'เกือก' ที่ได้
ชาย เมืองสิงห์ มาร้องด้วย แต่ยังมือเพลงป๊อปคือ 'ติ๋ม' เพลงเต้นรำเทคโน, 'ลึกซึ้ง' , 'สักเท่าไร' , 'ที่จริงในใจ' และ 'ขอบคุณ' ที่เป็นบริตป๊อปอย่างชัดเจน

http://www.mediafire.com/?znmind1zkyz


จิระศักดิ์ ปานพุ่ม : Catarock (2540)
ในวันนั้น จิระศักดิ์ ปานพุ่ม คือนักดนตรีหนุ่มไฟแรงที่มีอัลบั้มแรกกับ เทโรเรคอร์ดส์ ในวันที่ค่ายนี้เพิ่งก่อตั้งไม่นาน จิระศักดิ์เปิดตัวด้วยเพลงสุดเพราะ
อย่าง 'อย่าทำอย่างนั้น' และยังมีเพลงป๊อปร็อกลูกผสมระดับห้าดาวอีกหลายเพลง อย่างเพลงอกหัก 'ถึงอย่างไร' ที่แทบจะใช้กีตาร์ตัวเดียว, เพลงร็อกที่มี
เครื่องเป่าผสมอย่าง 'ตลอด' และอิเล็กทรอนิกส์ร็อก 'หล่อนเอ๋ย' อัลบั้มนี้ทำให้จิระศักดิ์ได้รางวัลศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม สีสันอวอร์ด ด้วย

http://www.mediafire.com/?zgzhzqntdyj


Blackhead : Full Flavor (2540)
อัลบั้มชุดนี้ของ Blackhead ไปอัดเสียงกันไกลถึงแอลเอ, สหรัฐอเมริกา ดนตรีเป็นร็อกลูกผสม มีทั้งแนวฟังก์ร็อก, แร็ปร็อก และฮาร์ดร็อกสนุกๆ อย่าง
'MR.ใหม่' มีเพลงที่น่าจดจำอย่าง 'สัญญา' ที่ได้เครื่องกลุ่มเป่าเข้ามาเสริมจนฟังสวยงาม เพลง 'ยังไม่สาย' และ 'ตายไปเลย' ที่แสดงเจตนาเป็นวงร็อก
สีขาวโดยไม่ต้องมีใครบังคับ และเพลง 'Will You Ever Be With Me' ที่เป็นเพลงสากลหาฟังยากจาก Blackhead

http://www.mediafire.com/?acanzvtiwmy


Boy Thai : Andaman Sun (2541)
วงดนตรีที่ถือเป็นความหวังใหม่ของวงการดนตรีไทยประยุกต์ ในการรวมเอาความละเอียดอ่อนของเครื่องดนตรีไทย เข้ากับความทันสมัยของเครื่องดนตรี
สากลได้อย่างน่าชื่นชม นอกจากนั้นอัลบั้ม Andaman Sun ชุดนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นถึงประสบการณ์ที่เพิ่มพูนขึ้นของสมาชิกภายในวง (โดยเฉพาะ ชัยยุทธ
โตสง่า) ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในส่วนของการเรียบเรียงดนตรี มีรางวัลสีสันอวอร์ดรับประกันความยอดเยี่ยม

http://www.mediafire.com/?gtzzodzlnky


อะลาดิน : อะลาดิน (2542)
ห้าหนุ่มแนวร็อก-แร็ปวงแรกของเมืองไทย ภายใต้การดูแลของ สุธี แสงเสรีชน อัลบั้มนี้ได้กล่องเพียบแต่ยอดขายไม่ดีนัก ตัวงานแสดงความสดทั้งฝีมือและ
ความคิดแบบเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง มีเพลงโปรโมตที่หลายคนเคยได้ยินคือ 'นางมารร้าย' และ 'แอบรักเธอ' มีเพลงร็อกอกหักโดนใจจิ๊กโก๋อย่าง 'ไม่มีใครตาย'
แต่เพลงที่น่าสนใจจริงๆ คือร็อก-แร็ปอย่าง 'ฮัลโหล!น้ำเน่า' , 'ศรีทน' , 'In Pub(มันแอบอยู่ในผับ)' ที่สนุกและลงตัวดีแท้

http://www.mediafire.com/?ytifklzazmm


Rik : ปฐม (2542)
ผลลัพธ์ของการทำงานกว่า 4 ปี ระหว่าง สุกี้ สุโกศล แคลปป์ บิ๊กบอสแห่งเบเกอรี่ กับ นักร้องสาวที่มีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ ด้วยแนวดนตรี 'เวิลด์บีตร็อก'
ที่เต็มไปด้วย ซินซ์หลอนประสาทที่ให้กลิ่นภารตะอบอวล เสียงกีตาร์อันเกรี้ยวกราด บีตที่เร่งเร้าและซับซ้อน แต่ที่เหลืออื่นใดคือเสียงร้องของริค
ที่เป็นเสมือนเครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่ง ถ่ายทอดเรื่องราวตั้งแต่การก่อกำเนิดไปจนถึงจุดจบของชีวิตได้อย่างตื่นตะลึงที่สุด

http://www.mediafire.com/?znzktyqwjmy


Paradox and My Friends (2542)
งานใต้ดินที่ทำขายแบบจำนวนจำกัดของวงพาราด็อกซ์และผองเพื่อน หน้าเอมีเพลงของพาราด็อกซ์แปดเพลง การบันทึกเสียงไม่ดีนักแต่ได้อารมณ์สนุก
อย่าบอกใคร แสดงถึงความกล้าและบ้าบวกกับความเป็นอัจฉริยะของวงได้ดี เนื้อหาปลดปล่อยกันเต็มที่ โดยเฉพาะเพลง 'ยั่ว' ที่มีเนื้อร้องอย่าง
"ยั่วนักต้องอึ๊บหนัก..." ส่วนอีกหกเพลงในหน้าบีก็ฟังเพลินๆ คละกันไปหลายแนวทาง มีอดีตสมาชิกวง 'พราว' มาแสดงฝีมือด้วยหนึ่งเพลง

http://www.mediafire.com/?tkmzytyyxww


Skalaxy : Look (2542)
อัลบั้มเปิดตัวจากสการ็อกวงแรกของเมืองไทย สมาชิกวงแต่งเพลงและเรียบเรียงกันเองทุกเพลง ภายใต้การดูแลของ นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ ทีโบน)
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงเร็กเก้ และเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ ชื่อ 'หัวลำโพง ริดดิม' อัลบั้มนี้ไม่ดังนัก แต่เป็นงานดี ดนตรีมีสีสันและได้อารมณ์สนุกสนาน
ตามอย่างที่สกาควรจะเป็น เพลงที่พอจะผ่านหูในวงกว้างอยู่บ้างคือ 'U & ME' , 'ถาม' และ 'มอง'

http://www.mediafire.com/?imaewyzmmhj


Smallroom : 001 (2542)
งาน Compilation เปิดตัวค่ายเพลงเล็กๆ ที่ชื่อ Smallroom เป็นค่ายเพลงที่มีอดีตสมาชิกวง พราว และ Crub เป็นผู้ก่อตั้ง มีเพลงของวงอินดี้ที่น่าสนใจ
รวมอยู่หลายเพลง เพลงส่วนมากจะมีกลิ่นไปทางดนตรีบริตป๊อป และศิลปินหลายๆ รายในอัลบั้มนี้ก็ยังคงมีงานต่อเนื่องออกมาเรื่อยๆ เช่น สี่เต่าเธอ,
เพนกวินวิลล่า, กรูวีแอร์ไลน์ และ กรีซซี่แคฟ อัลบั้มนี้เป็นรากฐานสำคัญของค่าย Smallroom ที่กลายเป็นสังกัดเพลงอินดี้คุณภาพสูงแห่งหนึ่งของประเทศ

http://www.mediafire.com/?umrnjndmtgz


สี่เต่าเธอ : The Love Boat (2543)
4 หนุ่มอารมณ์ดี เจ้าของวงชื่อชวนขันวงนี้ ก้าวไปอีกขั้น ด้วยเพลงสไตล์รีโทรป๊อป ที่นำคนฟังย้อนเวลาไปสู่ความรุ่งเรืองของดนตรีดิสโก้ในช่วงปลายยุค 70s
ไปจนถึงเพลงป๊อปต้นยุค 80s ซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยความสนุกสนานของเสียงซินซ์แบบโบราณ กลองไฟฟ้า และเบสไลน์สไตล์ฟังก์ ในขณะที่บทจะนุ่มนวล
ก็แสนจะไพเราะน่าฟัง ถึงแม้จะเพลงน้อยไปหน่อย (7 เพลงใหม่ กับอีก 1 รีมิกซ์) แต่ก็คุ้มสุดๆ ในแง่ของคุณภาพ

http://www.mediafire.com/?wnyhmkqbhhm


T-Bone : Live (2543)
อัลบั้มบันทึกการแสดงสดของวงเร้กเก้-สกา ที่ได้ชื่อว่าเล่นสดได้ดีที่สุดในประเทศ งานชุดนี้ทีโบนหันมาเน้นแนวสกาเต็มตัว แทบทุกเพลงจัดได้ว่ายอดเยี่ยม
ในแนวทาง มีเพลงฮิตของวงอย่าง 'แรงดึงดูด' , 'กอด', และ 'โต๋ ล่ง ตง' สลับกับเพลงบรรเลงสนุกๆ อย่าง 'T-Bone' , 'Skaville Thailand'
และ 'T-Bone Come to Town' มีโจอี้ บอย เป็นแขกรับเชิญ ปกอัลบั้มออกแบบโดย อุดม แต้พานิช

http://www.mediafire.com/?tkewyumdjzl


อีเคล็กติก : สุนทราภรณ์ (2543)
สองแกนหลักของโปรเจกต์ดนตรีชื่อ อีเคล็กติก คือ นรเศรษฐ หมัดคง - ดีเจชื่อดัง กับ ไบรอัน ยมจินดา - นักดนตรีฝีมือดี พวกเขาเอาเพลงเก่าสุดคลาสสิก
ของ สุนทราภรณ์ มาทำใหม่ในเวอร์ชันสุดล้ำ มีแขกรับเชิญเป็นคนในแวดวงอินดี้เพียบ อย่างเช่น วาสิต มุกดาวิจิตร, เจษฎา ธีระภินันท์, สุหฤท สยามวาลา
และ ริค วชิรปิลันธน์ อัลบั้มนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่เป็นงานที่น่าจดจำอย่างยิ่งสำหรับคนชอบเพลงเทคโนทันสมัย

http://www.mediafire.com/?gygwymiydyw


Billio : Pink (2544)
การกลับมาอีกครั้งของ บิลลี่ โอแกน ในสังกัดของตัวเอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดตั้งแต่หัวจรดเท้าจริงๆ ตั้งแต่ชื่อใหม่ว่า Billio กับภาพลักษณ์ที่ดูอินดี้
กว่าเคย แต่เพลงมีกลิ่นของดนตรีเทคโนในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งก็ไม่ได้ทิ้งความเป็นป๊อปไปไหน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางวุฒิภาวะของบิลลี่
ได้เป็นอย่างดี 'Stay Cool' , 'ทนพอแล้ว' , 'น้อง' , 'คิดแล้วเศร้า' และ 'กาพย์เห่รัก' คือเพลงที่ไม่ควรพลาด

http://www.mediafire.com/?mnnjoidgkod


2 Days ago kids : Time Machine (2544)
งานรวมพลคนอินดี้ ที่ ศศิศ มิลินทวณิช รวบรวมเพื่อนๆอย่าง โป้ โยคีเพลย์บอย, สมาชิกวงฟรายเดย์, ก้อ พี.โอ.พี. ,ไก่ โนสแคนดี้, นอ วงพอส, โตน โซฟา มา
ช่วยกันสร้างเพลงป๊อปที่ทันสมัยแต่มีคอนเซปต์ว่าด้วยการรำลึกถึงอดีตอันสวยงาม คุณภาพทุกเพลงอยู่ในขั้นดีมีเพลง 'กลับมา' เป็นเพลงดังติดอันดับ 1 บนชาร์ตของคลื่นวิทยุ
ที่ส่งเสริมเพลงอินดี้ Fat Radio และถูกเปิดในคลื่นนี้ 1,681 ครั้งในปี 2544 และมีเพลงดังเพลงอื่นอีกเช่น 'มากกว่านี้' , 'ฉันไม่รู้จะรักเธอนานเท่าไร' , 'วันที่ใจซบเซา'

http://www.mediafire.com/?zkyezkqtdze


พรู : พรู  (2544)
วงดนตรีที่ผู้บริหารค่ายเพลงชื่อ กมล สุโกศล แคลปป์ เป็นหัวหน้าวง และมีน้องชาย กฤษฎา สุโกศล แคลปป์ เป็นตัวชูโรง อัลบั้มนี้เป็นงานเพลงที่เบเกอรี่
มิวสิคกลับมาเดินตามแนวทางอินดี้อีกครั้ง ไม่เฉพาะแนวเพลงที่เป็นร็อกลูกผสมแบบตามใจฉัน แต่ยังรวมถึงวิธีการโปรโมตที่เน้นเดินสายแสดงสดเป็นหลัก
เหมือนสมัยที่ทำโมเดิร์นด็อกชุดแรก วงดนตรีวงนี้ไปไกลถึงขนาดคว้ารางวัลศิลปินยอดนิยมจาก MTV ในปี 2545

http://www.mediafire.com/?1nnouwat5uw

 

Credit :  pariyes11   http://board.forindy.com/
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...